วัคซีนภูมิแพ้ชนิดเม็ด: ทางเลือกใหม่สำหรับผู้แพ้ไรฝุ่น!
กลัวเข็ม? ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป! วัคซีนภูมิแพ้ชนิดเม็ด ช่วยให้คุณจัดการกับโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นได้อย่างง่ายดาย สะดวก ปลอดภัยโดยไม่ต้องทนฉีดยา สำหรับผู้มีอาการภูมิแพ้ วัคซีนภูมิแพ้ชนิดเม็ดอมใต้ลิ้น (Sublingual Immunotherapy): ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ที่ตรวจพบว่าแพ้ไรฝุ่น รวมถึงในการรักษาโรคเยื่อบุจมูกอักเสบและหอบหืด
วิ่งให้ถึงสุดขีดจำกัด! วัดระดับความฟิตของร่างกาย to the Max กับ ...
ตรวจความฟิต สมรรถภาพหัวใจและปอด ด้วย CPET/VO2MAX เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับนักกีฬา ผู้ที่ต้องการประเมินสมรรถภาพทางกาย ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและปอด และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจและปอด ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบนี้สามารถนำไปใช้เพื่อปรับตารางการฝึกซ้อม ประเมินการตอบสนองของระบบการหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือด คัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจ
รู้ทันก่อนสาย! กระดูกพรุนภัยเงียบที่ป้องกันได้
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดลง ซึ่งอาจทำให้กระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติ แม้ได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย จุดที่หักของกระดูกมักพบที่กระดูกสะโพกและกระดูกสันหลัง นับว่าเป็นตำแหน่งที่สำคัญ อันส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ความพิการ และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันที่ลดลง
ตรวจคุณภาพการนอนหลับ “คุ้มค่าและครอบคลุม” สไตล์ลักชู
การตรวจคุณภาพการนอนหลับ Sleep Test หรือ Sleep Lab ว่าเป็นการตรวจดูการนอนกรนหรือการตรวจดูการหายใจเท่านั้น ซึ่งพญ.ณิรัชดา ทรัพย์อนันต์ แพทย์ผู้ชำนาญด้านประสาทวิทยาและเชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ได้กล่าวว่าแท้จริงแล้วการตรวจคุณภาพการนอนหลับเป็นการตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับในผู้ที่นอนกรน ผู้มีปัญหาการอุดกั้นของการหายใจหรือผู้ที่มีอาการเกร็งกระตุกในขณะนอนหลับ ส่งผลให้หลับพักผ่อนไม่เพียงพอสมองไม่สดชื่น
USE ❤️ KNOW ❤️
ถึงเวลาแล้วหรือไม่? ที่เราทุกคนควรเริ่มตระหนัก และหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพหัวใจของเรา ทางสมาพันธ์หัวใจโลก หรือ World Heart Federation ได้จัดแคมเปญ “USE ❤️ KNOW ❤️” หรือ “ใช้หัวใจ รู้จักหัวใจ” เพื่อให้คนได้ตระหนักและเข้าใจถึงสุขภาพหัวใจกันยิ่งขึ้น และมุ่งสู่การลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต
วัคซีนเพื่อผู้ป่วยเบาหวาน เส้นทางสู่สุขภาพที่ยั่งยืน
โรคเบาหวานยังคงเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ หรือที่เรียกว่า โรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวายเรื้อรัง ฯลฯ ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน รวมถึงแนะนำวัคซีนที่ควรฉีดเพื่อให้สามารถช่วยลดการเจ็บป่วย ลดอัตราการนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล และลดความรุนแรงของการติดเชื้อ โดยแบ่งเป็น 6 ชนิด
รู้เท่าทันห่างไกล “ภาวะก่อนเบาหวาน”
“ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes)” คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่อยู่ในระดับที่จะวินิจฉัยเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากมักไม่ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงภาวะก่อนเบาหวาน ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานในอนาคตเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหลอดเลือดหัวใจ และภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
ตั้งสติพร้อมรับมืออุบัติเหตุในทุกเทศกาล
จากรายงานทางสถิติแล้ว เรามักพบอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลอยู่เสมอ ซึ่งล้วนแล้วแต่นำไปสู่การเกิดบาดแผลน้อยใหญ่เป็นที่ระลึกประจำเทศกาล และส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่าแผล “กระดูกหักแบบเปิด” จำเป็นต้องเป็นแผลขนาดใหญ่ที่มองเห็นกระดูกขาวแทงทะลุออกมา ทั้งที่ความจริงแล้วเราอาจมองไม่เห็นกระดูกโผล่ออกมาภายนอก เพียงต้องสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย
ตรวจสุขภาพหลังหายโควิด-19 เพื่อ “ปอดฟิตแอนด์เฟิร์ม”
ข่าวดี! ผู้ป่วยที่หายจากอาการโควิด-19 แล้ว สามารถตรวจเช็คร่างกายเพื่อประเมินในเบื้องต้นและสามารถวางแผนฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาฟิตแอนด์เฟิร์ม พร้อมกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้อย่างมั่นใจ แถมยังคงความแข็งแรงของปอด หรือประคับประคองสมรรถภาพปอดไม่ให้เสื่อมลงไปตามกาลเวลา
มะเร็งต่อมลูกหมาก… ภัยเงียบ ที่ไม่แสดงอาการ
มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับต้นๆในผู้ชายไทย โดยอาการที่เป็นสัญญาณเตือนถึงความเป็นไปได้ว่า จะเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่ ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่พุ่ง รวมถึงอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ปัสสาวะมีเลือดปน หรือมีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ
รู้ทันมะเร็งเต้านม ภัยใกล้ตัวของคุณผู้หญิง
มะเร็งเต้านม ถือเป็นภัยเงียบที่ใกล้ตัวผู้หญิงเรา โดยในระยะเริ่มแรกอาจไม่แสดงอาการใดๆ และเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อเต้านมเกิดการอักเสบ เพื่อป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุ 40 - 55 ปี ควรเริ่มตรวจเช็คลักษณะของเต้านมของตนเอง หากมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือมีความรู้สึกผิดปกติเกิดขึ้น ควรเริ่มปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาที่จะทำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมประจำปี
รู้จัก “โรคเอ็มเอส” ภัยร้ายเงียบของคนวัยทำงาน
อันตราย! สัญญาณเตือน โรคเอ็มเอส โรคปลอกประสาทของระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ ส่งผลเสียร้ายแรงต่อคนวัยทำงานต้องระวัง มีผลให้สมอง ระบบไขสันหลัง และเส้นประสาทตาถูกทำลายจนได้รับความเสียหาย อาจเจ็บป่วยจนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต อย่าปล่อยไว้ควรรีบพบแพทย์โดยทันที
เผยคนไทยเสี่ยงเบาหวานเพิ่มเกือบ 1 ใน 10 แถม “ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน...
ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมักพบภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรค แทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ไตวาย จอประสาทตาเสื่อม การรับความรู้สึก ฯลฯ การดูแลสุขภาพตัวเอง และหมั่นพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อชีวิต
ตั้งครรภ์อย่างไรให้เบาใจในยุคโควิด-19
ความปลอดภัยในการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในยุคที่มีการแพร่ระบาดของโรค COVID19 ไปทั่วประเทศอย่างในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังเบาใจได้ว่ายังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่า ผู้หญิงที่ติดเชื้อ COVID-19 ในขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือเสียชีวิต เราพบเพียงว่าผู้หญิงที่ติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ อาจมีอาการรุนแรงขึ้นได้
“บำบัดสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก” ทางเลือกใหม่รักษาโรคซึม...
กระตุ้นสมอง ด้วยคลื่นแม่เหล็กผ่านกะโหลกศีรษะ TMS เป็นนวัตกรรมการรักษาโรครูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาก รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง ระบบประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคซึมเศร้า โรคไมเกรน โรคย้ำคิดย้ำทำ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ช่วยฟื้นฟูปรับสมดุลการทำงานของสมอง ปัจจุบันมีการนำมาใช้รักษากลุ่มโรคต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
แล้ว “หมู่เฮา”ควรช่วยเหลือตัวเองอย่างไร ภายใต้วิกฤตการณ์ PM2.5 ?
หลังจากทราบจากตอนที่ผ่านมาแล้วว่าฝุ่น PM2.5 เป็นตัวการร้ายขนาดไหน ในระหว่างนี้ (ที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนกำลังช่วยระดมความคิดในการลดมลพิษนี้ในระยะยาว) หมู่เฮาชาวเชียงใหม่ทุกคนควรป้องกันตัวเองจากฝุ่นร้ายอย่างเต็มที่ เพื่อลดผลกระทบและอันตรายที่จะเกิดกับตัวเองและคนที่เรารัก
PM 2.5 ความเสี่ยงแม้ขณะหลับ!
ในวันที่ชาวเชียงใหม่อย่างเราๆ มองท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยฝุ่นพิษ PM 2.5 จนมองไม่เห็นภูเขาสวยๆ ดวงอาทิตย์ ทั้งยังบดบังทัศนวิสัยการขับขี่ ไหนจะหายใจด้วยความยากลำบาก บ้างก็แสบตา แสบคอ หลายการศึกษาพบว่ามลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะจาก PM 2.5 เพิ่มความรุนแรงของโรคทางเดินหายใจทำให้เกิดการอักเสบและการบวม จนทำให้โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด ภูมิแพ้ กำเริบได้ ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นในทุกขณะ
เบาหวานก็อดอาหารตามเทรนด์ได้ กับ IF – Intermittent Fasting
กระแสความเชื่อที่ว่าการงดอาหารเป็นช่วงๆ แบบ IF นั้น มีประโยชน์ต่อสุขภาพและความงามไปพร้อมกัน ทั้งช่วยลดน้ำหนักตัว ลดปริมาณไขมันในร่างกาย โดยไม่ต้องควบคุมปริมาณอาหาร ที่สำคัญสามารถรับประทานอาหารในปริมาณและพลังงานเท่าไหร่ก็ได้ไม่จำกัด แถมยังอาจจะช่วยชะลอวัยให้สวยสดใสได้ทำให้ความนิยมดังกล่าวถูกแชร์กันปากต่อปาก และเป็นคำค้นสุดฮิตติดเทรนด์สุขภาพและความงามในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
การใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานช่วงถือศีลอดในเดือนรอมฎอน
ในช่วงเดือนรอมฎอนหรือเดือนบวช ผู้นับถือศาสนาอิสลามจะถือศีลอด งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ดังนั้นการรับประทานยาหรือการใช้ยาจึงต้องปรับเปลี่ยนเวลารับประทานหรือปรับขนาดยาด้วย โดยเฉพาะยาที่มีการออกฤทธิ์สัมพันธ์กับการรับประทานอาหารหรือระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน กิน ดื่ม อย่างไร ในช่วงถือศีลอด
ปกติการรับประทานอาหารในช่วงรอนฎอน จะรับประทานเพียง 2 มื้อ คือ มื้อก่อนพระอาทิตย์ขึ้นและมื้อเย็นหลังพระอาทิตย์ตก ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นผู้ถือศีลจะหยุดรับประทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ (รวมถึงไม่กลืนน้ำลาย) จนถึงพระอาทิตย์ตก เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้วจึงเริ่มรับประทานอาหารได้ ส่วนใหญ่จะเริ่มโดยรับประทานอินทผลัม 3 ผล จากนั้นจะตามด้วยมื้ออาหาร ผู้ถือศีลอดจะได้รับการปรับยาเบาหวานให้เหมาะสมกับช่วงถือศีลอด เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำและภาวะน้ำตาลสูง
อายุ 50 ปี ควรตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็ง Gen B
สำหรับประเทศไทย มะเร็งลำไส้พบเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งทั้งหมด มีรายงานสถิติ จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2547 พบว่า เป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์ สูงเป็นลำดับ 3ในผู้ชาย และลำดับ 5 ในผู้หญิง โดยมีอายุเฉลี่ย 50 ปีขึ้นไป และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าลำไส้ตรง
การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานช่วงรอมฎอน
ในช่วงเดือนรอมฎอน หรือเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 13 เมษายน - 12 พฤษภาคม จะมีการงดรับประทานอาหาร รวมถึงน้ำ และยารักษาโรค ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนถึงพระอาทิตย์ตก ดังนั้นการวางแผนและการปฏิบัติตนในโอกาสต่างๆของผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
ความหวังครั้งใหม่ในการควบคุมน้ำหนักตัว
ในช่วงอุบัติการณ์ของโรคระบาดใหม่อย่าง Coronavirus Disease 2019 (Covid-19) ยังคงมีรายงานทางการแพทย์ที่แสดงถึงความเสี่ยงในผู้มีภาวะอ้วนหรือ obesity ออกมาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางวิตกกังวลภาวะโรคอ้วนที่เกิดขึ้นในภาวะนี้ มีผลการวิจัยที่ทำให้การบรรเทาภาวะโรคอ้วนได้อย่างยั่งยืน--เริ่มปรากฎขึ้น!
แก้อาการ “นอนไม่หลับ” ฉบับ DIY
คุณทราบหรือไม่ว่า การนอนหลับที่เพียงพอสร้างได้ด้วยตนเอง วันนี้หมอจะมาเผยเคล็ดลับการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ แบบ Do it Yourself แค่เพียงการปฏิบัติสุขอนามัยการนอน (sleep hygiene) โดยฝึกตัวเองให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมการนอนหลับในรูปแบบต่างๆ ไม่กี่ข้อต่อไปนี้ ก็จะช่วยทำให้คุณนอนหลับฝันดียาวๆ ไปจนเช้าเลยทีเดียว
หรือว่าเราต่างมีระเบิดเวลาซ่อนอยู่ภายใน?
ข่าวร้ายเล็กๆ สำหรับคุณผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ก็คือระเบิดเวลาชนิดนี้อาจมีโอกาสแฝงอยู่ในตัวคุณมากกว่าผู้ชายที่อายุเท่ากัน ในอัตราส่วน 1.6:1 อย่างไรก็ดี โดยรวมถือว่า “โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง” เป็นโรคที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับผู้มีอายุระหว่าง 40-60 ปี
ลดอ้วนอย่างยั่งยืน
บ่อยครั้งที่เรามักได้ยินสาวๆ บ่นกันติดปากว่า “อ้วนน..น” และพากันตั้งอกตั้งใจลดน้ำหนักด้วยวิธีต่างๆ จนกลายเป็นที่มาของเทรนด์สุขภาพยอดฮิต ไม่ว่าจะเป็นการกินคลีน, กินคีโตเจนิค ไดเอต (Ketogenic Diet), การงดกินกลูเต็น (Gluten Free Diet), การอดอาหารแบบ Intermittent Fasting, การออกกำลังแบบ T25, การวิ่งมาราธอน, หรือการเล่นพิลาทิสเพื่อรักษารูปร่าง