ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่
“ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่” ให้บริการรักษาเฉพาะทางด้านโรคหัวใจ ทั้งการให้ความรู้เพื่อป้องกัน การตรวจวินิจฉัย การรักษา ติดตามดูแล ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังการผ่าตัด โดยคณะแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพ ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีอันทันสมัย เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพแก่ผู้รับบริการ รวมทั้งข้าราชการที่มีการเบิกจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง มุ่งมั่นให้การดูแลสุขภาพหัวใจแก่ชาวเชียงใหม่ทุกท่านอย่างครบถ้วน
จุดเด่นของ “ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่”
-
- มีบริการรักษาเฉพาะทางด้านโรคหัวใจ แบบ One Stop Service ทั้งการป้องกัน ตรวจวินิจฉัย รักษา ติดตามดูแล ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพ
- มั่นใจว่าได้รับการดูแลและตรวจวินิจฉัยโดย “แพทย์ผู้ชำนาณการด้านโรคหัวใจ” มากประสบการณ์และมีชื่อเสียงในระดับประเทศ
- ดูแลทุกขั้นตอนด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ อาทิ พยาบาลเฉพาะทางด้านหัวใจ และนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
- Heart Healthy Lifestyle เพราะหัวใจที่แข็งแรงจะนำไปสู่การมีสุขภาพดีแบบองค์รวม แพทย์ผู้ชำนาญการของศูนย์ฯ จึงมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลและภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถีงโรคความดันโลหิตสูง คลิกเพื่ออ่านไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อใจ
- การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography) เป็นวิธีการตรวจหัวใจเพื่อดูเส้นเลือดของหัวใจว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน หรือความผิดปกติอื่น ๆ ของหลอดเลือดหัวใจบ้างหรือไม่ รวมถึงใช้ติดตามผลการรักษาภายหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผู้ที่เข้ารับการตรวจวิธีนี้จะได้รับสารทึบรังสีเพื่อให้ได้ภาพเอกซเรย์ที่ดี
- การตรวจคลื่นหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงใช้หลักการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอกและสะท้อนออกมาเป็นภาพให้เห็นบนจอ การตรวจวิธีนี้เป็นการตรวจเพื่อดูขนาดของหัวใจตามแรงการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจผ่านผนังหน้าอก การทำงานของลิ้นหัวใจ ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ช่องหัวใจโต และตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบหรือแน่นหน้าอกได้
- การตรวจการทำงานของระบบไฟฟ้าในหัวใจ และการจี้หัวใจที่เต้นเร็วผิดปกติ (Electrophysiology Study) การตรวจวิธีนี้ใช้เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่หัวใจเต้นผิดปกติและหาวิธีรักษาที่เหมาะสม เมื่อตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะจำลองจังหวะที่หัวใจเต้นผิดปกติโดยผู้ป่วยจะไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด และแพทย์อาจลองใช้ยาหลายชนิดเพื่อดูว่าชนิดใดจะรักษาอาการได้ดี แพทย์อาจใช้การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจเพื่อหาวิธีการหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับรักษาจังหวะหัวใจที่เต้นผิดปกติ โดยมากจะใช้วิธีนี้ตรวจผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือผู้ที่เสี่ยงว่าหัวใจจะหยุดเต้นโดยกะทันหัน
- การบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดติดตัว (Holter Monitor) ในผู้ป่วยบางรายที่มารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วไม่พบความผิดปกติในขณะนั้น แต่ผู้ป่วยอาจจะยังมีอาการที่น่าสงสัยว่าหัวใจอาจมีความผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดติดตัว ซึ่งผู้รับการตรวจจะต้องนำเครื่องมือนี้พกติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทราบว่ากิจกรรมต่าง ๆ ใน 24 ชั่วโมงของผู้รับการตรวจมีผลทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
- การตรวจทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test)
- การตรวจวัดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ABI (Ankle-Brachial Index)
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหลังการออกกำลังกาย (Exercise Stress Echocardiography)
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงโดยการใช้ยาโดบูตามีน (Dobutamine Stress Echocardiography)
- การทดสอบด้วยเตียงที่ปรับเอียง (Tilt Test)
- การรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนหรือขดลวดค้ำยันผ่านสายสวน (CAG/PCI)
- การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร (Permanent Pacemaker)
- การใส่เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดฝังใน ICD (Implantable Cardioverter Defibrillator)
- การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจสำหรับผู้ที่มีหัวใจวาย โดยใช้เครื่อง CRT (Cardiac Resynchronization Therapy)
- การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (CABG : Coronary Artery Bypass Grafting)
- การผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ (Cardiac Rehabilitation)
-
-
- ทำงานร่วมกับ ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่ และ ทีมสหสาขาวิชาชีพ ในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูสภาพการทำงานของร่างกายและฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยเพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ทั้งยังช่วยในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีกในอนาคต
- ทีม แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัดที่มีความชำนาญและมากประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ ตั้งแต่การดูแลเตรียมตัวผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ ทั้งนี้รวมทั้งผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่ได้รับการผ่าตัดอีกด้วย
- เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมนักกายภาพผู้ชำนาญในการดูแลผู้ป่วยแบบตัวต่อตัว (พร้อมหน้ากากอนามัยป้องกันโควิด-19 และการเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม) เป็นการช่วยฟื้นฟูร่างกาย รวมทั้งป้องกันความเสี่ยงจากการทำกิจกรรมและออกกำลังกายได้อย่างใกล้ชิด
- แนวทางในการดูแลและประเมินสุขภาพผู้ป่วยโรคหัวใจก่อนและหลังรับบริการ โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพใน การประชุมครอบครัวผู้ป่วย หรือ Family Meeting
- ให้ความรู้ที่ถูกต้องเป็นการเพิ่มทักษะให้กับผู้ป่วย ผู้ดูแล รวมทั้งครอบครัว เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติและดูแลตนเองได้ในชีวิตประจำวันหลังการผ่าตัดหัวใจ
-
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตัน (coronary artery disease)
- ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (post-myocardial infarction)
- ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวที่อาการคงที่ (stable heart failure)
- ผู้ป่วยที่ได้รับการทำหัตถการหรือผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ เช่น percutaneous coronary intervention, cardiac surgery, heart transplant
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดส่วนปลาย
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตัน
- ระยะที่ 1: ผู้ป่วยพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลโดยมีแพทย์ดูแลอาการอย่างใกล้ชิดจนอาการคงที่แล้ว
- ระยะที่ 2: ผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้านและควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจควบคู่ไปกับการออกกำลังกายภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัดอย่างใกล้ชิด โดยต้องใช้เครื่องติดตามการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ดีแล้ว สามารถออกกำลังเองได้ตามคำแนะนำของแพทย์
- ระยะที่ 3: ผู้ป่วยสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ดีและสามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย
- เครื่องออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
- เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (Defibrillator)
- เครื่องตรวจสัญญาณคลื่นหัวใจ
- เครื่องวัดความดันโลหิต, เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด
- อุปกรณ์กู้ชีพ
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ เป็นส่วนหนึ่งของแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ตั้งอยู่ ณ บริเวณชั้น 4 อาคารโรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ ภายในแผนกมีพื้นที่ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดที่ได้รับการออกแบบเพื่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการฝึกเดิน ทรงตัว ธาราบำบัด โดยอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดของบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งมีห้อง private treatment room แบ่งออกเป็นสัดส่วน ท่ามกลางมาตรการการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มข้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยอันถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ภายใต้การบริหารของ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด หรือ BDMS ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่ มุ่งพัฒนาความร่วมมือในโครงการแลกเปลี่ยนทักษะและความรู้ทางการแพทย์กับสถาบันนานาชาติชั้นนำ อาทิ Oregon Health & Science University (OHSU) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียงในด้านการรักษา การพัฒนางานวิจัย นวัตกรรมที่ได้มาตรฐานของสหรัฐอเมริกา โดยช่วยยกระดับวงการแพทย์ไทยให้มีมาตรฐานและคุณภาพในระดับสากล พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การทำงานให้แก่บุคลากรทางแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือผู้ชำนาญการด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องบริการทางการแพทย์ระดับสากล งานวิจัยทางการแพทย์ รวมไปถึงการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างองค์กรเพื่อให้ได้เข้ารับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
นัดหมายแพทย์
ข้อมูลติดต่อ
Tel: 052 089 776
Call Center: 1719
ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่เปิดให้บริการตามวันและเวลาดังนี้
-
- วันจันทร์ เวลา 8.00 - 17.00 น.
- วันอังคาร เวลา 8.00 - 20.00 น.
- วันพุธ เวลา 8.00 - 20.00 น.
- วันพฤหัสบดี เวลา 8.00 - 20.00 น.
- วันศุกร์ เวลา 8.00 - 17.00 น.
- วันเสาร์ เวลา 8.00 - 16.00 น.
- วันนอาทิตย์ เวลา 8.00 - 16.00 น.
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
แพ็กเกจและโปรโมชั่น
สาระสุขภาพ
ความหวังครั้งใหม่ในการควบคุมน้ำหนักตัว
ในช่วงอุบัติการณ์ของโรคระบาดใหม่อย่าง Coronavirus Disease 2019 (Covid-19) ยังคงมีรายงานทางการแพทย์ที่แสดงถึงความเสี่ยงในผู้มีภาวะอ้วนหรือ obesity ออกมาอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางวิตกกังวลภาวะโรคอ้วนที่เกิดขึ้นในภาวะนี้ มีผลการวิจัยที่ทำให้การบรรเทาภาวะโรคอ้วนได้อย่างยั่งยืน--เริ่มปรากฎขึ้น!