ฝุ่น PM 2.5 ยังสามารถซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ภูมิต้านทานต่ำลง การพาออกซิเจนไปสู่อวัยวะต่างๆแย่ลง ทำให้เกิดโรคหัวใจมากขึ้น เช่นหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ
นอกจากฝุ่นเข้าสู่กระแสเลือดแล้วเกิดกระบวนการสร้างสารอักเสบเรื้อรัง ซึ่งสารเหล่านี้สามารถซึมเข้าสู่สมองได้
ยิ่งไปกว่านั้นฝุ่นPM2.5 ยังผ่านเข้าทางเส้นประสาทการรับกลิ่นที่อยู่เหนือโพรงจมูก ตรงเข้าสู่สมองโดยตรง ทำให้เกิดการอักเสบในสมองขึ้น เกิดโรคทางสมองต่างๆตามมามากมายร้ายแรงถึงขั้นเกิดภาวะอัมพาตหรืออาจเสียชีวิตได้ ความรุนแรงขึ้นกับปริมาณฝุ่นที่ได้รับ และ ระยะเวลาที่ได้สัมผัสฝุ่น
ในสมองเด็กๆจะทำให้ IQ ลดลง การพัฒนาการช้ากว่าปกติ และทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้นได้มากขึ้นถึงเกือบ 70%
ในสมองผู้ใหญ่นั้น พบว่าทำให้เกิดผลกระทบต่อสมองหรือโรคทางสมองต่างๆมากขึ้น เช่น
- เนื้อสมองสีขาว (white matter-เนื้อสมอง ที่ประกอบไปด้วยเส้นใยประสาทเต็มไปหมด) ของคนที่อยู่อาศัยในบริเวณที่มีค่า PM2.5 ในปริมาณมาก มีปริมาณน้อยกว่า เทียบกับเนื้อสมองของคนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 ในระดับต่ำ
(งานวิจัยใช้เครื่อง MRI หรือmagnetic resonance imaging วัดสมองของผู้หญิง 1,403 คน เนื้อสมองที่ลดลงพบในสมองส่วนหน้า (frontal lobe) สมองส่วนขมับ (temporal lobe) และคอร์ปัสแคลโลซุม(corpus callosum) ซึ่งเป็นกลุ่มเส้นใยประสาทที่เชื่อมสมองซีกซ้ายและขวาเข้าด้วยกัน ) - โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ เพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่า
- โรคหลอดเลือดสมองตีบและหลอดเลือดสมองแตก เพิ่มมากขึ้นประมาณ15 % โดยทุก ๆ 10 μg/m3 ของระดับ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 13%
- โรคพาร์กินสัน เพิ่มความเสี่ยงประมาณ 30%
- ในคนที่เป็นไมเกรนจะมีการปวดหัวที่รุนแรงขึ้นได้้
พญ ดารกุล พรศรีนิยม
อายุรแพทย์ด้านระบบประสาทและโรคจากการนอนหลับ
ศูนย์สมองและระบบประสาท
โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
เอกสารอ้างอิง
The association between PM2.5 exposure and neurological disorders: A systematic review and meta-analysis. Sci Total Environ
Air pollution and your brain: What do you need to know right now. Primary Health Care Research & Development