แพ็กเกจตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคหัวใจ แบบ Standard
เป็นการตรวจคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยในการประเมินเพื่อป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต
เหมาะกับผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง สูบบุหรี่ ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
แพ็กเกจตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคหัวใจ แบบ Executive
แพ็กเกจนี้เหมาะกับใครบ้าง?
-
ผู้มีโรคประจำตัว ประเภทความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาเบาหวาน (ควบคุมได้ไม่ดี)
-
ผู้มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ อาทิ เหนื่อยเวลาออกกำลังกาย…แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย, มีอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก หายใจอึดอัดเวลาใช้แรงมากๆ หรือมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือเต้นเร็วกว่าปกติ เหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน รวมทั้งมีอาการจุก แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
เพิ่มรายการตรวจพิเศษจากการตรวจแบบ Standard อย่างไร?
1. เพิ่มการตรวจระดับแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ หรือ CT Calcium Scoring
การตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจและการตีบของหลอดเลือดหัวใจ เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเพื่อคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดงเพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ใช้บ่งบอกแนวโน้มถึงโอกาสในการเสียชีวิตฉับพลันจากโรคหัวใจในอนาคต
2. เพิ่มการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือ Exercise Stress Test หรือ EST
เป็นการตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตรวจหาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เกิดขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพาน ผู้ป่วยเหล่านี้อาจไม่มีอาการ หรือความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะพัก แต่เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดมีอาการแสดงและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจนมากขึ้น
3. เพิ่มการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram, Echocardiography) หรือเอคโค (Echo)
การตรวจเพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ หรือ เอคโค เป็นการตรวจเฉพาะทางที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์โรคหัวใจโดยเฉพาะ ใช้หลักการคล้ายกับการอัลตร้าซาวน์ คือการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจแล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ สามารถแสดงถึง รูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจ ใช้ระยะเวลาในการตรวจไม่เกิน 1 ชั่วโมง ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง
4. เพิ่มการตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอที่ไปเลี้ยงสมอง ที่เรียกว่า Ultrasound Carotid
การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (common carotid artery) ที่ไปเลี้ยงสมอง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง และตรวจหลอดเลือดว่ามีคราบหินปูนหรือคราบไขมัน (Plaque) เกาะอยู่ภายในหลอดเลือดหรือไม่ และสามารถวัดขนาดของ คราบหินปูนหรือคราบไขมัน ได้ เพราะเมื่อมีการหนาตัวมากขึ้น จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และอาจทำให้เส้นเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรือตัน ช่วยในการพยากรณ์อาการป่วยของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการตรวจที่ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน
ไม่มีประวัติโรคหัวใจ ใช่ว่าไม่เสี่ยง!
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อ "ภาวะหัวใจวาย" เพราะการเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างกะทันหัน มี 2 สาเหตุหลักที่พบได้บ่อย คือ จาก "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลัน" และจาก "หัวใจเต้นผิดจังหวะ" เนื่องจากเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลันเป็นโรคที่ไม่มีการแสดงอาการที่บ่งบอกอย่างเด่นชัด เพราะแม้ว่าหลอดเลือดจะตีบไปแล้วกว่า 50% แต่หัวใจก็ยังสูบฉีดเลือดได้และไม่แสดงอาการใดๆ ส่วนโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้น้อยลง พบได้บ่อยในผู้ที่อายุน้อย ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุนี้ สามารถป้องกันและนำไปสู่การรักษาได้ทันท่วงทีด้วยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจเป็นประจำนั่นเอง
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่
แพ็กเกจที่แนะนำ
