กระดูกพรุน (Osteoporosis) รู้ก่อนป้องกันได้ก่อน - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ฟังดูเหมือนจะเป็นโรคสำหรับคนแก่ หรือที่เห็นชัดๆ คือผู้หญิงที่เข้าวัยทอง แต่ความเป็นจริงแล้วโรคกระดูกพรุนเริ่มเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป เนื่องจากในวัยเด็กการสร้างมวลกระดูกจะมากกว่าการทำลายมวลกระดูก จนกระทั่งเข้าวัย 25-30 ปี ซึ่งจะเป็นวัยที่มีมวลกระดูกหนาแน่นที่สุด แต่หลังจากนั้นการสร้างมวลกระดูกจะลดลงแต่การทำลายจะมากขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในผู้หญิงหรือผู้ชายที่อายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่เรียกว่า “วัยทอง” จะมีฮอร์โมนเพศบางตัวที่ลดลง ส่งผลให้การสร้างมวลกระดูกแทบจะหยุดนิ่งหรือไม่สร้างมาทดแทนส่วนที่โดนทำลายไปเลยทำให้กระดูกหักได้อย่างง่ายดาย สร้างความเสียหายและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาอีกมากมายดังนั้นการป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนไว้ก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก จึงน่าจะเป็นอะไรที่ดีและมีประโยชน์มากกว่าการเกิดแล้วกลับมารักษา ปัจจุบันเราทุกคนและแพทย์ทุกสาขาวิชาก็ตระหนักถึงเรื่องนี้แล้ว ด้วยการให้แคลเซียมแก่ผู้ป่วยรับประทานเพื่อลดภาวะกระดูกพรุน แต่ใครจะรู้บ้างว่าการป้องกันที่ดีมีมากกว่าการทานแคลเซียมเพียงอย่างเดียว ทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. ทานแคลเซียมที่ในรูปที่สามารถดูดซึมได้ดี เช่น แคลเซียมซิเทรต หรือแคลเซียมทรีโอเนต ร่วมกับการรับประทานวิตามินดี เพื่อทำให้แคลเซียมที่เราทานเข้าไปถูกดูดซึมและนำไปใช้ได้เป็นอย่างดีและไม่เกิดภาวะแคลเซียมเกินในร่างกาย
  2. ควรทานวิตามินซี ควบคู่ไปด้วยเพื่อช่วยให้มวลกระดูกที่สร้างใหม่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
  3. ทานอาหารที่มีประโยชน์ที่ให้แคลเซียมกับร่างกายสูง อาทิ ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว เป็นต้น
  4. ออกกำลังกายชนิด Aerobic exercise อย่างสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเสริมสร้างมวลกระดูกได้มากขึ้น
  5. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เนื่องจากขณะนอนหลับร่างกายเราจะหลั่ง โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ออกมาเพื่อกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกในร่างกายเพียงเท่านี้เราก็สามารถป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้แล้ว

ชั้น 2 โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
โทร 052-089-865 หรือ สายด่วน 1719
E-mail : [email protected]