5 เรื่องสำคัญ ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับและ 'เข้าถึง'
สาระสุขภาพตอนพิเศษ เนื่องในวันเบาหวานโลก
เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทั้งๆ ที่มีประชากรทั่วโลกเป็นผู้ป่วยเบาหวานกันนับล้านๆ คน แต่ผู้คนส่วนใหญ่บนโลกนี้ก็ยังได้ชื่อว่า “เข้าไม่ถึง” การรักษาโรคเบาหวาน โดย ข้อมูลล่าสุด จากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เผยว่า โรคเบาหวานในประเทศไทยมีจำนวนการเข้ารับบริการสูงเป็นอันดับที่ 2 ของการรับบริการผู้ป่วยนอกในทุกโรงพยาบาล
- ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานราว 5 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 10 ของประชากรที่อายุ 15 ปีขึ้นไป
- มีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คนต่อปี
เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวนมากต้องการการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ โดยแพทย์หญิงพร้อมพรรณ พฤกษากร ผู้เชี่ยวชาญโรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม แห่งแผนกอายุรกรรม คำนึงถึงจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เพิ่มสูงขึ้นจึงมีการเตรียมความพร้อมให้บริการคำปรึกษาและรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ทั้งด้านการดูแลรักษา การควบคุมอาหาร ด้านเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นักโภชนาการ เภสัชกร และทีมสหสาขาวิชาชีพพร้อมดูแลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถ “เข้าถึง” การรักษาและดูแลตัวเองได้อย่างยั่งยืน
5 สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควร “เข้าถึง”
-
การเข้าถึงอินซูลิน เพราะแม้ว่าอินซูลินจุะถูกค้นพบ เมื่อ 100 ปีก่อน แต่ก็ยังมีผู้ป่วยเบาหวานหลายล้านคนที่ยังไม่สามารถได้รับอินซูลินตามความจำเป็น
-
การเข้าถึงยารักษาโรคเบาหวาน ยาที่จำเป็นบางตัวยังไม่มีใช้ในบางประเทศ หรือยังไม่สามารถซื้อได้เนื่องจากราคาสูง
-
การเข้าถึงการติดตามผลการดูแลด้วยตนเอง การตรวจเลือดเพื่อติดตามการรักษาเป็นสิ่งจำเป็น แต่มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมากไม่สามารถหาซื้อเครื่องเจาะน้ำตาลมาใช้ได้
-
การเข้าถึงความรู้และการดูแลทางด้านจิตใจ ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับความรู้เพื่อการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง แต่มีผู้ป่วยหลายรายยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ และได้รับการดูแลเกี่ยวกับสภาพจิตใจ
-
การเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาพและสถานที่ออกกำลังกายที่ปลอดภัย ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่มีความเสี่ยงควรได้รับการดูแลและป้องกันโรคเบาหวานโดยมีพื้นฐานมาจากการได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสถานที่ออกกำลังกายที่มีความปลอดภัย

นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำเพื่อการรักษาโรคเบาหวานและลดโรคแทรกซ้อน คือ ลดอาหารประเภท หวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดละเลิกการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานยาเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ ตรวจเลือดเป็นประจำตามแพทย์นัด ตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง และฉีดวัคซีนตามที่แพทย์แนะนำ สอบถามเพิ่มเติมคลิก
วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น วันเบาหวานโลก ( World Diabetes Day ) ประเด็นรณรงค์สำหรับปี 2564-2566 คือการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Access to Diabetes Care) สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค จำเป็นที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันเพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักรู้และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคเบาหวาน
ที่มา : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, International Diabetes Federation : World Diabetes Day 2021-2023
ด้วยความปรารถนาดีจาก
พ.ญ. พร้อมพรรณ พฤกษากร
อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม
แผนกอายุรกรรม | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
โทร 052 089 888 หรือ Call Center 1719
บทความใกล้เคียงกัน