พญ. พร้อมพรรณ พฤกษากร

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จัดเป็นโรคเรื้อรัง เป็นเบาหวานที่ไม่ขึ้นอยู่กับอินซูลิน (type 2 diabetes or insulin-independent diabetes) เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน(ฮอร์โมนอินซูลิน) ร่วมกับภาวะการหลังฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อนลดลง โดยเป็นยาที่ช่วยเพิ่มการสร้างฮอร์โมน GLP-1 ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและเพิ่มความไวต่ออินซูลิน

หนึ่งในยาที่กำลังได้รับความสนใจคือยากลุ่ม GLP-1 (Glucagon-like peptide 1) receptor agonists หรือ GLP-1 analogs โดยตัวยามีการทำงานเลียนแบบฮอร์โมนที่หลั่งจากลำไส้เล็กตามธรรมชาติ มีฤทธิ์ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ ลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ยืดระยะเวลาที่อาหารอยู่ในกระเพาะ ลดความอยากอาหาร นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่ายากลุ่มนี้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ ลดภาวะไตเสื่อมจากโรคเบาหวาน ลดระดับไขมัน ลดความดันโลหิต และช่วยลดน้ำหนักตัวได้1,2,3

การใช้ยากลุ่ม GLP-1 receptor agonists

เดิมมีเพียงยาฉีดเข้าเนื้อเยื่อในชั้นใต้ผิวหนัง แต่ปัจจุบันนี้มีการพัฒนายาที่สามารถรับประทานได้2 โดยยาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทั้งในด้านระยะเวลาการออกฤทธิ์ซึ่งส่งผลถึงความถี่ในการฉีดยา ผลต่อน้ำหนักตัว ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และยาบางชนิดก็มีการผสมกับอินซูลินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังตารางเปรียบเทียบ

ตัวยา Lixisenatide + Insulin glargine Liraglutide + Insulin degludec Liraglutide Dulaglutide Semaglutide
ชื่อการค้า Soliqua® Xultophy® Victoza®/ Saxenda® Trulicity® Ozempic® Rybelsus®
วิธีใช้ยา ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง รับประทาน
ความถี่ในการใช้ยา * ** ***** ** ***  
ผลการลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด* ** *** ** ** **  
อาการข้างเคียง พะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย กรดไหลย้อน
น้ำตาลในเลือดต่ำโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับ insulin หรือยาที่กระตุ้นการหลั่ง insulin

ข้อมูลจากเอกสารกำกับยา

                อาการข้างเคียงที่พบบ่อยมักเป็นอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร นอกจากนี้อาจพบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น และอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน1,2,3 ผู้ใช้ยาจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นใช้ยาที่จะต้องค่อยๆ ปรับขนาดยาเพื่อให้ร่างกายทนต่ออาการข้างเคียงจากยาได้

ปัจจุบันมีการใช้ยากลุ่มนี้แพร่หลายมากขึ้นนอกไปจากข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน เช่น ลดน้ำหนัก ควบคุมความอยากอาหาร อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ผลที่ดียิ่งขึ้นควรควบคุมอาหาร และออกกำลังกายควบคู่กับการใช้ยาไปด้วย หากท่านมีความสนใจหรือคำถามเกี่ยวกับการใช้ยากลุ่ม GLP-1 receptor agonists สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรโรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

ด้วยความปรารถนาดี
พญ. พร้อมพรรณ พฤกษากร
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
แผนกอายุรกรรม | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
โทร. 052 089 888 หรือ Call Center 1719

 

แหล่งข้อมูล       

  1. ภก. วรพจน์ บุญมาทอง 
  2. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560.
  3. Nauck MA, Meier JJ. MANAGEMENT OF ENDOCRINE DISEASE: Are all GLP-1 agonists equal in the treatment of type 2 diabetes?. Eur J Endocrinol. 2019;181(6):R211-R234.
  4. Cornell S. A review of GLP-1 receptor agonists in type 2 diabetes: A focus on the mechanism of action of once-weekly agents. J Clin Pharm Ther. 2020;45 Suppl 1(Suppl 1):17-27.