ใคร ? ที่กำลังมี Enjoy Eating อยู่กับการกินอาหารที่อยู่ในมืออยู่ แต่ก็ยังสนใจในการควบคุมอาหาร หรืออยากลดน้ำหนัก แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากส่วนไหนก่อน อาจเริ่มต้นด้วยการรู้จักตัวเองก่อนด้วยการเช็คดัชนีมวลร่ายกาย BMI เพื่อจะได้รู้ว่าร่างกายเราอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกินหรือไม่ หรือเราสามารถเริ่มต้นด้วยการอ่านฉลากโภชนาการ ข้อมูลจากสำนักงานกองสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ(สสส.) ปริมาณโภชนาการที่คนเราต้องการต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ในหนึ่งวันไม่ควรได้รับพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม มากกว่าปริมาณสูงสุดที่แนะนำ ดังนี้ พลังงานไม่ควรเกิน 2,000 กิโลแคลอรี น้ำตาลไม่ควรเกิน 65 กรัม ไขมันไม่ควรเกิน 65 กรัม โซเดียมไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม

 

ในปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปได้รับความนิยมกันมากขึ้นเนื่องจากหารับประทานได้ง่าย การอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป เป็นวิธีหนึ่งช่วยให้ได้รับสารอาหารตรงตามความต้องการ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ หรือผู้ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ฯลฯ เพราะจะช่วยให้ทราบถึงชนิด และปริมาณสารอาหารที่จะได้รับจากการบริโภคอาหารนั้นๆ และยังช่วยให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงสารอาหารที่ไม่ต้องการได้หรือที่ไม่เหมาะกับร่ายกาย  หรือหันมาปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การกินอาหารที่ ‘ดีต่อใจ’

 

มาอ่านฉลากโภชนาการกันเถอะ

จากรูป 3 ส่วนแรกทางด้านขวามือ

 

ส่วนที่ 1 หมายถึง ปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำให้บริโภคแต่ละครั้ง

ตัวอย่างในรูป บอกให้ทราบว่าปริมาณการบริโภค 1 ครั้ง (หนึ่งหน่วยบริโภค) เท่ากับ 1 ชิ้น หรือ 24 กรัม

 

ส่วนที่ 2 หมายถึง ปริมาณสารอาหารที่ได้รับจากการบริโภคในปริมาณที่แนะนำ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 3 ช่วง ตัวอย่างในรูป

หมายเหตุ ข้อปฏิบัติการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย ตามธงโภชนาการแนะนำให้บริโภคน้ำตาลน้อยที่สุด หรือไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา (24 กรัม)

 

ส่วนที่ 3 หมายถึง ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้คนไทยได้รับในหนึ่งวัน

เป็นข้อมูลที่ผู้บริโภคไม่ควรละเลย หรือมองข้ามฉลากโภชนาการ การอ่านข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อจะช่วยให้ผู้บริโภค หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ไม่ต้องการ หรือต้องการจำกัดการบริโภค สามารถเปรียบเทียบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกัน โดยเลือกแบรนด์หรือยี่ห้อที่มีคุณค่าทางโภชนาการดีกว่าได้ และสามารถเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม กับความต้องการของตนเองได้

หากได้ลองควบคุมการกินอาหารการอ่านฉลากโภชนาการตัวเองแล้วน้ำหนักยังไม่ลดลงรู้สึกไม่เป็นไปตามที่คุณต้องการ สามารถติดต่อทำนัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเมตาบอลิสม ทำการประเมินการรักษาและควบคุมน้ำหนักเป็นรายบุคคล ร่วมกับนักกำหนดอาหารวิชาชีพ เพื่อให้คำแนะนำการกินอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายของแต่ละบุคคล เพื่อร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพที่ดีอย่างยังยืน

 

ด้วยความปรารถนาดี

ณัฐริกา ปัญโญ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

แผนกอายุรกรรม | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
โทร. 052 089 888 หรือ call center 1719