โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จในการรักษาอาการ Atrial Fibrillation

 

ปัจจุบันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด อาจมีอันตรายถึงชีวิต ในกลุ่มผู้ป่วยที่แสดงอาการอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย ในบางรายมีอาการหัวใจวายเฉียบพลัน จึงเป็นภาวะที่ไม่ควรมองข้าม

โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานการรักษาและแนวทางการปฏิบัติในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านหลอดเลือดหัวใจและการเต้นผิดจังหวะ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัย และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที รวมถึงการดูแลหลังการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจสูงสุดกับผู้เข้ารับบริการ

วันนี้ได้รับเกียรติจาก  คุณดนัย ลิ้มตระกูล ผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษา ได้ให้ข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับอาการดังกล่าวว่า “เริ่มแรกมีอาการเจ็บตรงหน้าอก ขณะออกกำลังกาย และวูบ จึงได้เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ด้วยคนไข้มีภูมิลำเนาที่จังหวัดเชียงใหม่ ทางครอบครัวได้แนะนำให้มารักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ เนื่องจากทางครอบครัวได้หาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้มั่นใจในการรักษามากขึ้น จนได้พบกับแพทย์เจ้าของไข้ คือ นพ. ธนวัฒน์ เบญจานุวัตรา ซึ่งได้ทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างละเอียด ทำให้ทราบสาเหตุเกิดจากภาวะการมีไฟฟ้าลัดวงจรระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง ร่วมกับการเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะแบบสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation with pre-excitation) ทำให้เกิดภาวะวิกฤตความดันโลหิตต่ำในขณะที่กำลังเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วสั่นพริ้ว จากนั้น นพ. ธนวัฒน์ เบญจานุวัตรา ยังได้อธิบายวิธีการรักษา ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างละเอียด โดยมีทีมพยาบาล ช่วยให้คำแนะนำต่างๆ ทำให้มีความมั่นใจในการเข้ารับการรักษาในครั้งนี้”

ด้าน นพ. ธนวัฒน์ เบญจานุวัตรา อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจของโรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ กล่าวว่า “ผู้ป่วยรายนี้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ ด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกายตามด้วยอาการหน้ามืด หลังจากตรวจอย่างละเอียดแล้วพบว่า ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ WPW (Wolff-Parkinson-White Syndrome) คือ สภาพที่ผู้ป่วยมีทางเดินไฟฟ้าแบบลัดวงจรเชื่อมระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง ทำให้ผู้ป่วยรายนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วสั่นพริ้ว เกิดแรงดันเลือดต่ำ จัดเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเสียชีวิตเฉียบพลัน จึงได้ทำการแจ้งผู้ป่วยถึงวิธีการรักษา โดยใช้สายสวนใส่เข้าไปในห้องหัวใจ หาตำแหน่งลัดวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ จากนั้นก็จี้ทำลายจุดที่ผิดปกติโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง เป็นการรักษาแบบหายขาด แต่ไม่ใช่การผ่าตัด สายสวนตรวจรักษาไฟฟ้าหัวใจเหล่านี้จะถูกแทงผ่านทางผิวหนังบริเวณขาหนีบ เข้าสู่หลอดเลือดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ทางโรงพยาบาลมีทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งระยะเวลาที่ผู้ป่วยมานอนรักษาในโรงพยาบาลและได้รับรักษาเพียง 2 วัน สามารถกลับบ้านได้ หายเป็นปกติ ไม่ต้องรับประทานยา และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหลังจากนี้อีก 3 เดือน เพื่อติดตามอาการ

การเจ็บป่วยมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในทุกๆคน หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีและทันท่วงทีด้วยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งความพร้อมของเครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้ท่านปลอดภัยและมีความมั่นใจในการรักษาของท่าน และคนที่ท่านรัก

 

 

 

ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่

โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

หมายเลขโทรศัพท์ 052-089-776