พญ. ณิรัชดา ทรัพย์อนันต์

หลับอย่างไรให้สมองสดชื่น โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

ถ้าคุณเคยตื่นมาแล้วรู้สึกมึนงง เสียการทรงตัว เบลอเป็นบางช่วง และต้องการคาเฟอีนเพื่อให้สมองสดชื่น .. กาแฟอาจไม่ใช่คำตอบเดียว!


เพราะการนอนหลับที่ดีต่างหากช่วยให้สมองสดชื่น!

คนทั่วไปอาจไม่รู้ว่าสมองได้รับการทำความสะอาดจากการนอนหลับในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อมีปริมาณ รูปแบบ และคุณภาพการหลับที่ดีจะส่งผลดีต่อสมอง ไม่ว่าจะเป็น การกำจัดผลิตผลเหลือใช้ของเซลล์ประสาท, เสริมสร้างความจำ, พัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ทั้งร่างกายทำงานได้ปกติในภาพรวมอีกด้วย

เราสามารถประเมินคุณภาพการนอนหลับได้เอง โดยดูจากภาวะดังนี้

    • หายใจได้ดี ไม่ติดขัด ไม่หยุดหายใจ
    • ไม่กรน
    • ไม่กัดฟัน
    • หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติ
    • กล้ามเนื้อผ่อนคลายขณะหลับ
    • ไม่มีอาการละเมอ หรือละเมอเดิน
    • ไม่มีการกระตุกของร่างกาย
    • หลับสนิทไม่ผวากรีดร้อง

 

ในชีวิตประจำวัน ระหว่างวันที่คนเราตื่นตัวอยู่ ระบบประสาทและเซลล์สมอง จะมีการทำงานใช้พลังงานและเกิดผลิตผลของเหลือใช้ภายในระบบต่าง ๆ ของร่างกายเปรียบเสมือนเป็นขยะที่ต้องกำจัดออก หากมีปริมาณมาก เกะกะในสมอง มีผลทำให้เกิดความบกพร่องของการส่งกระแสประสาทสมอง ความรู้ความจำถดถอย อารมณ์แปรปรวน หากเซลล์ประสาทที่เสียหายเป็นเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ร่วมด้วย สุดท้ายจะทำให้เกิดภาวะการทำงานล้มเหลวของหลายอวัยวะ ภายในร่างกาย อาทิ

เพื่อให้เริ่มต้นหลับได้ง่าย เราควรจัดรูปแบบและตารางการนอนหลับให้สม่ำเสมอเพื่อให้ได้รูปแบบ ปริมาณ และคุณภาพการนอนหลับที่เหมาะสม ให้สมองสามารถหลับได้ทั้งระยะหลับตื้น หลับลึก และหลับฝัน ครบวงจรอย่างสมบูรณ์ ไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือไม่ลุกเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน

อย่างไรก็ตาม ด้วยความแตกต่างของแต่ละบุคคล เช่น อายุ เพศ โรคประจำตัว อาหารหรือกิจวัตรประจำวันที่มีผลต่อการนอนหลับ สำหรับผู้สนใจตรวจสุขภาพการนอนหลับจำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับ โดยเฉพาะ

 

ด้วยความปรารถนาดี

พญ.ณิรัชดา ทรัพย์อนันต์

แพทย์ระบบประสาทวิทยา เชี่ยวชาญเฉพาะทางการนอนหลับผิดปกติและลมชัก

ศูนย์คุณภาพการนอนหลับ | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

โทร. 052 089 888 หรือ  1719

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง