ทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ
ทางเลือกสำหรับคนที่กลัวการทำฟัน
การทำฟันภายใต้การดมยาสลบ เหมาะกับใครบ้าง?
ผู้ป่วยเด็กเล็กที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาทางทันตกรรมตามปกติได้ ,ผู้ป่วยกลุ่มเด็กพิเศษ เช่น Down syndrome , autism ผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถความคุมพฤติกรรม การเคลื่อนไหวของตัวเองได้ เช่น ผู้ป่วยที่มีความพิการทางสมอง (cerebral palsy) ผู้ป่วยโรคลมชัก (Epilepsy)
การรักษาที่ไม่สามารถรักษาภายใต้การใช้ยาชาเฉพาะที่เพียงอย่างเดียวได้ เช่น
- การผ่าฟันคุดที่อยู่ลึกมากๆ หรือ การผ่าตัดเพื่อนำถุงน้ำ(cyst) หรือก้อนเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ การใช้ยาชาเฉพาะที่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ทั่วถึง
- การทำหัตถการบริเวณที่มีการอักเสบ หรือติดเชื้อมากจะทำให้ประสิทธิภาพของยาชาลดลง ไม่สามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ดีเท่าที่ควร
- ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้าและศีรษะ
- ผู้ป่วยที่แพ้ยาชา
- ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนง่ายระหว่างทำการรักษาทางทันตกรรม
- ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการษาหลายอย่างภายในครั้งเดียว เช่น การถอนฟัน หรือ ผ่าฟันคุดจำนวนหลายซี่ การผ่าตัดเพื่อฝั่งรากเทียมจำนวนหลายซี่ หรือการผ่าตัดแต่งกระดูกทั้งขากรรไกร
- ผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลมาก ไม่สามารถทนการรักษาแบบปกติได้
ขั้นตอนการรักษา
- พบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีปัญหาช่องปากอะไรต้องรักษาบ้าง
- ตรวจร่ายกายเตรียมความพร้อมสำหรับการดมยาสลบโดยแพทย์ หรือกุมารแพทย์กรณีเป็นผู้ป่วยเด็ก
- ผู้ป่วยจะต้องนอนที่โรงพยาบาลก่อนวันรักษา เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการดมยาสลบ เช่น มีการงดน้ำงดอาหาร ก่อนทำหัตถการ โดยวิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้กำหนด
- หลังจากเสร็จสิ้นการรักษา ผู้ป่วยจะถูกนำไปห้องพักฟื้นเพื่อติดตามอาการจนกว่าจะฟื้นรู้สึกตัวดี และจะแนะนำให้นอนพักที่โรงพยาบาลต่ออีก 1 คืน เพื่อติดตามอาการจนผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกทันตกรรม | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.00 – 20.00 น.
และวันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 17.00 น.
โทร 052-089-783 หรือ 1719
แพ็กเกจที่แนะนำ
