bmi-weight-loss

หมอเชื่อว่าใครๆ ก็ไม่อยากอ้วนใช่ไหมคะ!

นอกจากจะส่งผลต่อความมั่นใจในรูปร่างหน้าตาในชีวิตประจำวัน ความอ้วนมีผลต่อสุขภาพของคนเราโดยตรง เป็นภัยเงียบที่นำมาซึ่งความเจ็บป่วยต่างๆ มากมาย

วันนี้หมอจะมาชวนคำนวณกันดูว่า เราน่ะ อ้วนหรือยัง?

Body_Fat

ก่อนจะผลีผลามโทษตัวเอง หรือพนักงานส่งอาหารเดลิเวอรี่ของร้านอาหารเด็ดๆ เมนูดังๆ ทั่วเมืองในขณะนี้ เพราะบางทีภาวะน้ำหนักตัวขึ้น อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น โรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือการหลั่งฮอร์โมนสเตียรอยด์ที่มากเกินไปจากต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไต เป็นต้น  ผู้ที่น้ำหนักตัวขึ้นโดยเร็วและมากๆ จึงควรเข้ามาตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงก่อนเพื่อรีบรักษาอาการได้แต่เนิ่นๆ นะคะ

ที่แน่ๆ หากปล่อยให้ตัวเองอ้วน อาจมีผลให้เกิดความเสี่ยงต่อ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันพอกตับ โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคข้อเสื่อม โรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะนอนหลับ  หรือบางคนอาจสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง และการยอมรับทางสังคมได้อีกด้วย

เราจะทราบได้อย่างไรว่าเริ่มมีปัญหาน้ำหนักเกินแล้ว ใช้วิธีง่ายๆ ตามโปรแกรมการคำนวณหาดัชนีมวลกายนี้ได้เลยค่ะ คลิกที่นี่

หรือใครอยากลับสมองด้วยการคำนวณเอง ก็ใช้ Body mass index (BMI) คือ เอา น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง (ม.)²  ถ้าค่า BMI เกิน 23 ถือว่าน้ำหนักเกิน  ถ้าเกิน 25 ถือว่าอ้วน  ถ้าเกิน 30 ถือว่าอ้วนมาก นี่เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยในคนเอเชียอย่างเราๆ นะคะ คนที่ถือว่าอ้วนมาก ก็ควรเลือกที่จะเข้ามาปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการดูแลให้กลับมาสุขภาพดีต่อไปค่ะ

ถ้าใครที่ยังมี   BMI อยู่ในขั้นมาตรฐาน หรือ…เริ่มจะอ้วน ก็อย่านิ่งนอนใจนะคะ ควรดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ หากต้องการลดน้ำหนัก ก็ควรเลือกวิธีการที่เหมาะสม

Sleeve Gastrectomy

 

 

พ.ญ. พร้อมพรรณ พฤกษากร

อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม

แผนกอายุรกรรม |  โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่