รู้จักภาวะมิสซี อาการหลังเด็กหายจากโควิด-19

ภาวะมิสซี อาการหลังเด็กหาย ‘โควิด-19’ - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

          ในโซเชียลมีเดียปัจจุบันจะเห็นคำว่า ภาวะมิสซี (MIS-C)” บ่อยครั้งเช่นเดียวกันกับคำว่า “ลองโควิด (Long Covid)” ซึ่งเป็นอาการที่พบในเด็กที่ติดโควิด19 และได้รับการรักษาจนหายแล้วแม้จะมีอาการที่รุนแรงมากหรือน้อยก็ตาม อาจพบกลุ่มอาการอักเสบและภาวะแทรกซ้อนของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย หรือ กลุ่มอาการที่เรียกกันในทางการแพทย์ว่า ภาวะมิสซี (MIS-C) ซึ่งอาจมีอาการรุนแรงถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

คุณพ่อคุณแม่จึงควรตระหนักและเฝ้าสังเกตอาการเบื้องต้นของ ภาวะมิสซี (MIS-C) ที่อาจเกิดตามมาในช่วง 2-6 สัปดาห์หลังลูกน้อยหายป่วยจากโควิด-19

 

 

อาการของภาวะมิสซี (MIS-C) ที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง

 

ภาวะมิสซี - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

 

หากลูกน้อยมีอาการข้างต้นที่กล่าวมานี้ซึ่งมักจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน หรือ ในรายที่มีอาการรุนแรงขึ้น ให้รีบนำมาพบกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านลองโควิดโดยทันที โดย กุมารแพทย์จะทำการรักษาเพื่อลดการอักเสบและควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ที่รักษาได้ทันท่วงทีมักมีอาการดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคไปได้

 

 

รู้จักกับภาวะมิสซี (MIS-C) จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

พญ. อัญชนา สัจจพุทธวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์โรคปอดและเวชบำบัดวิกฤต ได้กล่าวว่า ภาวะมิสซี (MIS-C) คือกลุ่มอาการอักเสบของระบบต่างๆ ภายในร่างกายอย่างเฉียบพลันมากกว่า 2 ระบบขี้นไปรวมทั้งภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของเด็กๆ ทำงานผิดปกติ โดยทั่วไปภาวะมิสซี (MIS-C) จะเกิดตามมาหลังหายจากโควิด-19 ภายใน 2-6 สัปดาห์ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าภาวะมิสซี (MIS-C) เกิดจากอะไร แต่เชื่อกันว่าเกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กตอบสนองต่อเชื้อไวรัสมากจนเกินไป

 

ลองโควิด-19 - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวถึงสถานการณ์ของการเกิดภาวะมิสซี (MIS-C) อีกว่า ปัจจุบันพบเด็กป่วยด้วยภาวะมิสซี (MIS-C) เพิ่มมากขึ้นโดยพบมากในกลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุ 5-9 ปี จากสถิติพบว่าในบรรดาเด็กที่ป่วยเป็นโควิด-19 จำนวน 3,000 – 5,000 รายจะมี 1 รายที่มีโอกาสที่จะเกิดภาวะมิสซี (MIS-C) ตามมา โดยร้อยละ 75 ของเด็กที่ป่วยนี้เป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงมาก่อนและไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงขณะป่วยเป็นโควิด-19

ทั้งยังมีรายงานการพบผู้ป่วยเด็กด้วยภาวะมิสซี (MIS-C) ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อเดือนเมษายน ปี 2563 และต่อมาก็พบภาวะมิสซี (MIS-C) ในอีกหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยอีกด้วย

 

การตรวจวินิจฉัยภาวะมิสซี (MIS-C)

กุมารแพทย์จะทำการวินิจฉัยกลุ่มอาการมิสซี (MIS-C) ด้วยการตรวจ 2 ข้อ ได้แก่

 

คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่

นอกจากนี้คุณหมออัญชนายังได้ฝากคำแนะนำสำหรับผู้ปกครองไว้ว่า การป้องกันเด็กๆจากภาวะมิสซี (MIS-C) ที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ต้น แต่ถ้าหากมีการติดเชื้อโควิด-19 และได้รับการรักษาจนหายป่วยแล้ว ผู้ปกครองต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดในช่วง 2-6 สัปดาห์หลังเด็กหายป่วยจากโควิด-19 หากพบอาการผิดปกติ ควรพาไปพบกุมารแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

 

อาการหลังเด็กหาย ‘โควิด-19’ - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

          อย่างไรก็ตาม ภาวะมิสซี (MIS-C) ไม่ได้เกิดขึ้นกับเด็กที่หายป่วยจากโควิด-19 ทุกคน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรประมาทและควรดูแลลูกน้อยของท่านอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญการป้องกันไม่ให้ลูกน้อยของท่านสัมผัสกับเชื้อโควิด-19 เป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก

แพทย์หญิงอัญชนา สัจจพุทธวงค์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์โรคปอดและเวชบำบัดวิกฤต

ศูนย์รักษาลองโควิด | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่