นายแพทย์ ธนวัฒน์ เบญจานุวัตรา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและแพทย์หญิงธนิดา เอื้ออารีย์จิต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารมีความเห็นตรงกันว่าอาหารช่วยควบคุมอาการของโรคหัวใจ หรือ Special Needs ควรได้รับการปรุงอย่างเหมาะสมและตรงตามความต้องการเฉพาะโรค โดยการลดเกลือเเละไขมัน (Omega 3 และ 9) ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรได้รับการควบคุมเพื่อการดูเเลระบบหัวใจเเละหลอดเลือด ไม่ให้เกิดภาวะที่เส้นเลือดเเดงสูญเสียความยืดหยุ่นหรือมีความเสี่ยงเส้นเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจในกลุ่มหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถเป็นได้ 2 กลุ่ม

  1. ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น ผู้ที่มีประวัติอยู่ในครอบครัวซึ่งเคยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รวมถึงบางเชื้อชาติ
  2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมและรักษาได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถลดโอกาสของการเป็นโรค หรือหากเป็นแล้วก็สามารถบรรเทาความร้ายแรง ชะลอ หรือรักษาให้หายได้ กลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญ

 

โรคที่จะส่งผลให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งต้องระวัง เช่น ความดันในเลือดสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ล้วนมี ‘อาหาร’ เข้ามามีบทบาท

ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

อาหารที่ช่วยส่งเสริม ป้องกัน และชะลอการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  1. ลดเค็ม : ในหนึ่งวันไม่ควรรับประทานเกลือเกิน 1 ช้อนชา ดังนั้นจึงไม่ควรปรุงอาหารเพิ่ม
  2. ลดมัน : ลดการใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร เลือกใช้น้ำมันพืชและควรใช้น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน
  3. ลดหวาน : ไม่รับประทานพวกน้ำตาล ไม่เติมน้ำตาลลงในอาหารหรือเครื่องดื่ม
  4. รับประทานไฟเบอร์ ผัก ผลไม้ให้เพียงพอ จะช่วยขัดขวางการดูดซึมไขมัน ช่วยส่งเสริมและป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้

หลายคนอาจจะคิดว่าอาหารสำหรับผู้ป่วยนั้นรสชาติไม่ค่อยอร่อยมาลองรับชมเมนูอาหาร Special Need สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ทางโรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่เลือกสรรมานำเสนอพร้อมสูตรไปปรุงเองที่บ้านได้เลยตามอัธยาศัย

 

 

เมนูอาหารแนะนำสำหรับคนพิเศษโรคหัวใจ

ปลากระพงอบอัลมอนต์คลัสผิวส้ม

(Baked Snapper With Almond & Orange Crusted)

 

วัตถุดิบ เมนูอาหารสำหรับโรคหัวใจ - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

อาหารสำหรับโรคหัวใจ - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก
โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
โทร. 052-089-888 หรือ 1719