อีกทั้งยังสามารถนำผลการวัดน้ำตาลที่ได้มาอ้างอิงในการแก้ไขการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ตามคำแนะนำของแพทย์นอกจากการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองเป็นประจำ จะเป็นตัวชี้วัด สะท้อนผลของยาที่ใช้รักษา และยังรู้ว่าพฤติกรรมการรับประทาน และการออกกำลังกาย มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยรายนั้น ๆ อย่างไร ทำให้มีการวางแผนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม และยังลดโอกาสเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานมากยิ่งขึ้น
ผู้ป่วยเบาหวานที่ตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง จะทำให้ช่วยควบคุมเบาหวานให้ได้ดีขึ้น ช่วยให้ช่วยให้ข้อมูลระดับน้ำตาลเพิ่มเติม เสริมจากค่าน้ำตาลสะสม (HbA1C) ในการประเมินการควบคุมเบาหวาน ทั้งยังสามารถตรวจค้นหา หรือหาแนวโน้มที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และภาวะน้ำตาลที่สูงเกินเกณฑ์เป้าหมาย ป้องกัน และแก้ไข ทำให้เพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจของผู้ป่วย ทั้งนี้ยังเป็นแรงจูงใจให้มีการดูแลตนเอง
โดยปกติแล้วแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานตรวจน้ำตาลด้วยปลายนิ้วในเวลา “ก่อนอาหารเช้า” เพื่อปรับขนาดของอินซูลินออกฤทธิ์ยาว หรือก่อนอาหารแต่ละมื้อและหลังอาหาร 2 ชม เพื่อประเมินการตอบสนองของระดับน้ำตาล ตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ของอินซูลิน เพื่อปรับขนาดของอินซูลินให้เหมาะสมกับอาหารที่รับประทาน ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับคำแนะนำให้ตรวจน้ำตาลปลายนิ้วก่อน ระหว่างก่อนและหลังออกกำลังกายที่ใช้ระยะเวลานาน เพื่อพิจารณาอาหารว่าง หรือปรับขนาดของอินซูลินให้เหมาะสมและควรคำนึงว่า การตรวจน้ำตาลปลายนิ้วนั้น ควรทำก่อนการขับรถเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำขณะขับรถ โดยก่อนขับรถควารมีน้ำตาลในเลือดมากกว่า 90 มก/ดล. สำหรับผู้เสี่ยงต่ำน้ำตาลในเลือดต่ำในเวลากลางคืน ควารมีการตรวจน้ำตาลในเลือดก่อนนอน และเวลา 3.00 น.
เรามาดูกันว่าผู้ป่วยเบาหวานต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง
- แอลกอฮอล์
- สำลีแห้ง
- อุปกรณ์เจาะเลือด
- แถบตรวจน้ำตาล
- เครื่องตรวจค่าน้ำตาล
- เข็มเจาะเลือดหรือปากกาเจาะเลือด
ขั้นตอนการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเอง
- เสียบแผ่นตรวจน้ำตาล เข้ากับตัวเครื่องกดปุ่มเปิด (บางรุ่นเปิดอัตโนมัติ)
- ใส่หัวเข็มในปากกาเจาะเลือด ปรับระดับความลึกตามความหนาของผิวหรือใช้เข็มเจาะแบบใช้แล้วทิ้ง
- ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ เช็ดบริเวณปลายนิ้วที่จะเจาะ และรอแอลกอฮอล์แห้ง
- เจาะเลือดบริเวณปลายนิ้วด้านข้าง ของนิ้วชี้ นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง
- หยดเลือดบนแถบตรวจน้ำตาล ในแนวขนานกับตำแหน่งดูดเลือดให้เต็มบริเวณที่รับหยดเลือด
- กดตำแหน่งที่เจาะด้วยสำลีแห้ง จนเลือดหยุดไหล รอเครื่องอ่านผลและบันทึกผลการตรวจเลือดในสมุดบันทึก
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรหมั่นดูแลตัวเองด้วยการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองเป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ อันจะนำไปสู่โรคหัวใจ ภาวะหัวใจขาดเลือด โรคไต ความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย
ด้วยความปรารถนาดี
พญ. พร้อมพรรณ พฤกษากร อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
แผนกอายุรกรรม | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
โทร. 052 089 888 หรือ 1719
Line Official. @bangkokchiangmai
บทความที่เกี่ยวข้องกัน
- รู้เท่าทันห่างไกล “ภาวะก่อนเบาหวาน”
- เทรนด์ใหม่! การดูแล ‘ความหวาน’ ตลอด 24 ชั่วโมง!
- 5 เรื่องสำคัญ ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรได้รับและ ‘เข้าถึง’
- แค่เลือกทานอาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ เบาหวานก็เอาอยู่หมัด
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง
- ตรวจโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
- ตรวจคัดกรองการทำงานของไต
- ตรวจสุขภาพระบบประสาทและสมอง
- ตรวจคัดกรองโรคหัวใจ
แหล่งข้อมูล: เกษนภา เตกาญจนวนิช, (2562), หลักสูตรพื้นฐานผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน, หน้า 96-101.