ควบคุมระดับน้ำตาล ควบคุม เบาหวาน ปลอดภัย - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

 

          เบาหวาน โรคที่หลายคนเคยได้ยินจนคุ้นชิน และทราบว่าเป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ แต่การรักษานั้นกลับไม่หวานสมชื่อ เพราะแม้จะเข้ามารักษาอาการให้ดีขึ้นแล้ว ผู้ป่วยยังคงต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดนั้น ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามร่างกายและอาการของผู้ป่วยแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด ปัจจุบันยังมีการตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วย เบาหวาน ที่รักษาตัวมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เพื่อประเมินผลการรักษาและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค เบาหวาน ในระยะยาว

 

 

ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงเท่าไหร่ ถึงจะเป็นโรคเบาหวาน ?

  1. สำหรับผู้ที่สงสัยว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ และต้องการตรวจระดับน้ำตาลสะสม เพื่อตรวจหาโรคเบาหวาน

 

เบาหวาน - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

 

  1. สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่รักษาตัวมาะระยะหนึ่งแล้ว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีการประเมินการเกิดภาวะหรือโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานโดยใช้การตรวจระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ดังนี้

 

 

รักษาระดับน้ำตาลด้วยการตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม

           การตรวจระดับน้ำตาลสะสม คือการตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยที่สะสมในเลือดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตามอายุโดยเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง) ซึ่งเกิดจากโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ที่ชื่อว่า ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) จับตัวกับน้ำตาลกลูโคสในเลือดและยอมให้น้ำตาลมาเคลือบที่ผิวภายนอก(Glycosylated) ยิ่งมีน้ำตาลมาจับและเคลือบเม็ดเลือดแดงชนิด HbA1c มากเท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่ามีสภาวะความเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นเท่านั้น

          ซึ่งเป็นการตรวจที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เริ่มรักษาตัวแล้ว เพราะนอกจากจะช่วยประเมินว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมากน้อยแค่ไหนแล้ว ยังช่วยประเมินความเสี่ยงของเกิดภาวะหรือโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้อีกด้วย

 

ข้อควรรู้สำหรับการตรวจระดับน้ำตาลสะสม HbA1c

  1. การตรวจ HbA1c ไม่สามารถทดแทน การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร 8 ชั่วโมง (FBS) หรือการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (SMBG) ที่ต้องตรวจทุกวันเพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนระดับยาอินซูลินหรือเพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงขณะนั้น ๆ ได้ เป็นเพียงการตรวจวินิจฉัยร่วมกับการตรวจอื่นๆ เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยและรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. หากท่านมีโรคประจำตัวเหล่านี้ เช่น โรคไตเรื้อรัง โรคตับ โรคโลหิตจางประเภทต่าง ๆ หรือมีภาวะเสียเลือดมาก ควรแจ้งให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการตรวจระดับน้ำตาลสะสม HbA1c เสมอ เนื่องจากอาจทำให้ผลการตรวจ HbA1c ผิดพลาดไปจากความเป็นจริงได้
  3. ผู้ป่วยบางประเภทจะมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยต่ำกว่ามาตรฐานโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง โรคไตเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์
  4. ตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้คำแนะนำการรักษาที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก

พญ. พร้อมพรรณ พฤกษากร

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม

ศูนย์ควบคุมน้ำหนัก แผนกอายุรกรรม | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แผนกอายุรกรรม

โทร 052 089 823

Call Center: 1719

” เปิดให้บริการวันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 07.00 – 20.00 น. “