โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่อันตรายและไม่ควรมองข้าม มักไม่มีอาการบอกเหตุจนกว่าจะเกิดกระดูกหัก

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดลง ซึ่งอาจทำให้กระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติ แม้ได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย จุดที่หักของกระดูกมักพบที่กระดูกสะโพกและกระดูกสันหลัง นับว่าเป็นตำแหน่งที่สำคัญ อันส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ความพิการ และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันที่ลดลง

รู้ทันก่อนสาย! กระดูกพรุนภัยเงียบที่ป้องกันได้

จากข้อมูลในประเทศไทยพบการเกิดกระดูกสะโพกหักในประชากรอายุมากกว่า 50 ปีถึง 289 ครั้งในผู้หญิง และ 114 ครั้งในผู้ชายต่อประชากร 100,000 คนต่อปี และเพิ่มขึ้นเป็น 1,011 ครั้งต่อประชากร 100,000 คนต่อปีในผู้หญิงอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป

 

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน

    1. มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง (fragility fracture)
    2. มีบิดาหรือมารดากระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง
    3. ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20 กก./ตร/ม.
    4. ส่วนสูงลดลงตั้งแต่ 4 ซม.ขึ้นไปเมื่อเทียบกับประวัติส่วนสูงสูงสุด หรือตั้งแต่ 2 ซม.ขึ้นไปจากการบันทึกส่วนสูง 2 ครั้ง
    5. ได้รับยาที่ทำให้มวลกระดูกลดลงเร็ว คือ Prednisolone 5 มก./วันหรือเทียบเท่า ต่อเนื่องตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
    6. ผู้หญิงที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่ม Aromatase inhibitor ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม หรือผู้ชายที่ได้รับการรักษาด้วยการลดระดับฮอร์โมนเพศชายเพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
    7. ภาพถ่ายรังสีแสดงลักษณะของกระดูกบาง หรือกระดูกสันหลังผิดรูปจากกระดูกสันหลังหัก

รู้ทันก่อนสาย! กระดูกพรุน ภัยเงียบที่ป้องกันได้ 03

วิธีการตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน สามารถทำได้ด้วยการ

DXA scan (Dual Energy X-Ray Absorption) เป็นการคัดกรองโรคกระดูกพรุนด้วยเครื่องตรวจโดยใช้รังสีปริมาณต่ำ ที่น้อยยิ่งกว่าการเอกเรย์ปอด สามารถตรวจได้โดยที่ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหาร ใช้เวลาการตรวจสั้นประมาณ 10-15 นาที และเป็นวิธีมาตราฐานในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนโดยองค์การอนามัยโลก (WHO)

ข้อควรระวัง

สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือหากได้รับสารทึบรังสีมาก่อนการตรวจสามวัน จำเป็นต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนการรักษา

การแปรผลการตรวจ (T- Score)

ค่าความหนาแน่นมวลกระดูกที่วัดได้มีหน่วยเป็น มวล/ตารางพื้นที่กระดูก (g/sq. cm, กรัม/ตารางเซนติเมตร) จากค่าที่วัดได้นี้จะต้องนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยปกติในกลุ่มคนที่เป็นวัยหนุ่มสาว (young – adult mean) อายุ 30 – 40 ปีที่มีเชื้อชาติเดียวกันหรือเชื้อชาติที่ใกล้เคียงกัน เป็นจำนวนของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) เรียกว่า T- score ซึ่งใช้เป็นค่าในการวินิจฉัยโรคโดย

Fracture Risk Assessment Tool (FRAX) เป็นเครื่องมือที่ใช้คำนวณความเสี่ยงเป็นเปอร์เซ็นต่อการเกิดกระดูกสะโพกหักและกระดูกหักในตำแหน่งสำคัญ (ได้แก่ กระดูกหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นแขน กระดูกแขน) ในช่วงเวลา 10 ปีของผู้ป่วยอายุ 40-90 ปีที่ยังไม่ได้รับยารักษาโรคกระดูกพรุน โดยสามารถคำนวณจากปัจจัยเสี่ยงเพียงอย่างเดียว เช่น อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และประวัติโรคร่วม เป็นต้น หรือคำนวณร่วมกับค่าความหนาแน่นกระดูกที่ได้จากการตรวจ DXA Scan ก็ได้ คลิกประเมินความเสี่ยงการเกิดกระดูกพรุน (สำหรับประชากรไทย)

รู้ทันก่อนสาย! กระดูกพรุนภัยเงียบที่ป้องกันได้

การคำนวณ Fracture Risk Assessment Tool (FRAX) หากความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักที่สะโพกมากกว่า 3% หรือกระดูกหักในตำแหน่งสำคัญมากกว่า 20% รวมถึงหลังได้รับการตรวจด้วยเครื่อง DXA scanแล้ว ควรพบแพทย์ผู้ชำนาญเพื่อแปลผลการตรวจและดูประวัติเพิ่มเติม เพื่อจัดกลุ่มผู้ป่วยตามระดับความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักและรับคำแนะนำรวมถึงการให้ยารักษากระดูกพรุนต่อไป สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพแบบองค์รวมหรือทำนัดเพื่อพบแพทย์ คลิกที่นี่

 

นพ. ธีรเจต กิตติภูมิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม

 

ด้วยความปรารถนาดี

นพ. ธีรเจต กิตติภูมิ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ อนุสาขาอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม

แผนกอายุรกรรม | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

โทร. 052 089 888  หรือ call center 1719

Line Official : BangkokChiangMai