มาทำความรู้จัก “คาร์บ” กันเถอะ - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

คาร์บ หรือชื่อเต็มว่า คาร์โบไฮเดรต

คืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเป็นเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งเมื่อรับประทานแล้วจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือด พบได้ในอาหาร 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ข้าว/แป้ง ผลไม้ นม/โยเกิร์ต และขนมหวาน หรือ จำง่าย ๆ ว่า “ข้าว ผล นม หวาน” ในขณะที่อาหารอื่น เช่น เนื้อสัตว์ และ ผักใบ (ที่ไม่ใช่ผักหัวหรือฟักทอง) มีคาร์โบไฮเดรตอยู่น้อยมาก จึงไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากนัก อาหาร 1 คาร์บคืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 15 กรัม ซึ่งคิดเป็นปริมาณดังรูป

ปริมาณเฉลี่ยที่ควรรับประทานสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  1. ผู้ชาย ไม่เกิน 5 คาร์บต่อมื้อป
  2. ผู้หญิง ไม่เกิน 4 คาร์บต่อมื้อ

*หมายเหตุ: ปริมาณข้างต้นเป็นเพียงปริมาณเฉลี่ยเท่านั้น ผู้ป่วยเบาหวานแต่ละรายมีความต้องการคาร์โบไฮเดรตไม่เท่ากัน ควรปรึกษานักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการถึงปริมาณที่เหมาะสมอีกครั้ง

การแลกเปลี่ยนคาร์บ หมายถึง อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเท่ากันสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ในปริมาณ 1 ต่อ 1 หน่วย หากในมื้อนั้น ผู้หญิงรับประทานข้าวสวยไปแล้ว 3 ทัพพี ซึ่งเท่ากับ 3 คาร์บ เหลืออีก 1 คาร์บ จะต้องเลือกรับประทานได้อีกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ระหว่างขนมปัง 1 แผ่น หรือแอปเปิ้ลผลเล็ก 1 ผล หรือนม 240 cc. หรือตะโก้ 4 ชิ้น เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้ว ผลิตภัณฑ์ทั่วไปที่มีคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 15 กรัม ก็นับเป็น 1 คาร์บ หากจะรับประทานก็ต้องนับด้วยเช่นกัน

หมายเหตุ: เมื่อนำปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดหารด้วย 15 ก็จะได้ปริมาณคาร์บทั้งหมด

 

กรรวี ศรีตา
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ
ใบอนุญาตเลขที่ กอ.ช.1594
โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่