ห่างไกล “โรคกระดูกพรุน”
ด้วยการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก
“ คุณรู้หรือไม่!? โรคกระดูกพรุน เป็นภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยและมักไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า โดยปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมากกว่า 1 ล้านคน และร้อยละ 20 ของผู้ที่กระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนมักเสียชีวิตภายใน 1 ปี ”
รู้จัก “โรคกระดูกพรุน”
“โรคกระดูกพรุน” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยมีสาเหตุมาจากการสูญเสียมวลกระดูกทำให้กระดูกเปราะและมีความเสี่ยงที่จะหักง่าย และเมื่อกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน ถือว่ามีความอันตรายสูงและมีความรุนแรงมากซึ่งอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้
ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักไม่มีอาการ หรือ สัญญาณเตือน รู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อกระดูกหักแล้ว โดยอาการที่พบได้คือปวดหลัง และอาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังยุบตัวทำให้หลังค่อมและเตี้ยลง ในขณะที่กระดูกส่วนอื่นๆที่พบบ่อย ได้แก่ ข้อมือและสะโพก
ปัจจัยเสี่ยงของ “โรคกระดูกพรุน”
- เพศ: ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชายและมีโอกาสที่จะกระดูกหักได้มากถึง 40 – 50% โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเพศจะทำให้มวลกระดูกลดลง
- กรรมพันธุ์: หากพ่อและแม่มีโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก ลูกมีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก
- ขาดสารอาหาร: การทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือ สารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก เช่น แคลเซียม วิตามินดีและโปรตีน
- พฤติกรรม:
- การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากกว่า 3 แก้วต่อวัน ทำให้โอกาสมีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้น
- บุหรี่ มีสารนิโคตินที่เป็นตัวทำลายเซลส์สร้างมวลกระดูก จากสถิติพบว่าหากสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวันอาจเพิ่มความเสี่ยงของกระดูกสะโพกสูงขึ้นถึง 1.5 เท่า
- การขาดออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่นั่งมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวันอาจเพิ่มความเสี่ยงของกระดูกสะโพกหักมากถึง 50%
ห่างไกลโรคกระดูกพรุนด้วยการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก
การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Densitometry) เป็นการตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูกตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก ข้อมือ และกระดูกทั้งตัวด้วยเครื่องมือทางรังสี เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะคุณผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือ ผู้ที่มีอาการปวดหลังรุนแรงและอาการผิดปกติต่างๆ
ข้อดีของการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก กับโรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
- เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนและสามารถหาแนวทางป้องกันอย่างเหมาะสม
- เพื่อประเมินการสูญเสียเนื้อกระดูก
- เพื่อติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการตรวจ
ก่อนเข้ารับการตรวจผู้ป่วยไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร สามารถเข้าตรวจตามวันเวลาได้นัดหมายได้เลย ทั้งนี้ในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่เพิ่งเข้ารับการตรวจที่ต้องรับประทานสารทึบรังสีหรือสารกัมมันตรังสี รวมถึงผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการจัดท่าที่เหมาะสมสำหรับการตรวจควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
“โรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบซึ่งมีความอันตรายและไม่มีสัญญาณเตือน การดูแลรักษาสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคได้และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์แห่งความเป็นเลิศกระดูกและข้อ | โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่
โทร 052 089 888 หรือ Call Center 1719
แพ็กเกจที่แนะนำ
