PM 2.5 ความเสี่ยงแม้ขณะหลับ! - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

ในวันที่ชาวเชียงใหม่อย่างเราๆ มองท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยฝุ่นพิษ PM 2.5 จนมองไม่เห็นภูเขาสวยๆ ดวงอาทิตย์ ทั้งยังบดบังทัศนวิสัยการขับขี่ ไหนจะหายใจด้วยความยากลำบาก บ้างก็แสบตา แสบคอ หลายการศึกษาพบว่ามลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะจาก PM 2.5  เพิ่มความรุนแรงของโรคทางเดินหายใจทำให้เกิดการอักเสบและการบวม จนทำให้โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด ภูมิแพ้ กำเริบได้ ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้นในทุกขณะ  

ใครเลยจะนึกว่า เจ้าฝุ่นละอองจิ๋ว PM 2.5 นี้ยังจะตามมาเป็นอันตรายแก่พวกเราแม้ยามหลับยามนอนอีกด้วย! 

มีการศึกษาหลายการศึกษาได้พบว่ามลภาวะโดยเฉพาะPM2.5  เพิ่มความรุนแรงของโรคทางเดินหายใจเนื่องจากทำให้เกิดการอักเสบและการบวม ทำให้โรคถุงลมโป่งพอง หอบหืด ภูมิแพ้ กำเริบได้ 

เป็นที่รู้กันดีว่าโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ   นั้นส่งผลร้ายมากมายต่อร่างกายเราขนาดไหน

 

ดยทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ภาวะอ้วน โรคซึมเศร้า ภาวะนอนไม่หลับและอื่นๆ ..... 

มีการศึกษาหลายการศึกษาได้พบว่ามลภาวะโดยเฉพาะ PM2.5  เพิ่มความรุนแรงของโรคทางเดินหายใจเนื่องจากทำให้เกิดการอักเสบและการบวม ทำให้โรคถุงลมโป่งพอง หอบหืด ภูมิแพ้ กำเริบได้ 

 

นอกจากนั้นแล้ว.....ที่น่าตกใจไปกว่านั้น! 

ไม่นานมานี้ มีงานวิจัยชิ้นนึงชิ้นหนึ่งที่ทำในสหรัฐอเมริกา พบว่าการสัมผัสมลภาวะเป็นระยะเวลานานทำให้เสี่ยงต่อการกรนและหยุดหายใจมากขึ้นได้อีกด้วย 

 

โดยการศึกษานี้วัดมลภาวะรอบบ้านของกลุ่มตัวอย่างคนจำนวน1,974คน ในสหรัฐอเมริกา เป็นเวลานาน 5ปี โดยการวิจัยนี้ได้ตัดปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆที่ อาจส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหยุดหายใจขณะหลับออกแล้ว  เช่น เพศ ความอ้วน เป็นต้น

 

จากการศึกษาพบว่า การสัมผัสกับมลภาวะ ฝุ่นPM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหยุดหายใจขณะหลับ 

  • การหายใจเอาทุกๆ 5 µg/m3 
  • ของ PM2.5ที่เพิ่มขึ้น (เฉลี่ยทั้งปี) 
  • จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหยุดหายใจขณะหลับถึง 60% 

 

อย่างไรก็ตามสาเหตุยังไม่มีการระบุสาเหตุอย่างทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาดังกล่าว คาดว่าผู้ป่วยอาจเกิดจากการอักเสบและการบวมของทางเดินหายใจส่วนต้น อีกทั้งร่วมกับการที่ฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่สมองได้โดยตรงไปอาจมีผลกับสมองที่ควบคุมการหายใจโดยตรงอีกด้วย..... 

เราจึงควรสวมหน้ากาก .... และเปิดเครื่องฟอกอากาศชนิดที่มีคุณสมบัติ.... เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสต่อ PM 2.5 โดยตรงแม้ขณะอยู่ในอาคารบ้านเรือน 

โดยสรุปก็คือปัจจัยเรื่องฝุ่นมลภาวะกลายเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่มีอันตรายต่อมนุษย์ในขณะตื่นและหลับ จำเป็นนึงที่ทุกๆ ฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งตัวเราเองจะต้องให้ความสำคัญและร่วมมือกันแก้ปัญหาฝุ่นพิษเหล่านี้ให้ได้อย่างยั่งยืนโดยเร็วที่สุดมากขึ้นนั่นเอง  

เพราะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาอย่างมากมายเลยทีเดียว

 

 

เรื่องโดย ด้วยความปรารถนาดีจาก 

พญ  ดารกุล พรศรีนิยม 

อายุรแพทย์ด้านระบบประสาทและโรคจากการนอนหลับ 

ศูนย์โรคระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่