แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ - โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจ

ราคา

5,000 THB

หมายเหตุ:
หากท่านเลือกแพ็กเกจ Standard แล้วต้องการตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน หรือ การตรวจภาพคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจสามารถตรวจได้ในราคาพิเศษดังนี้

  1. ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน ราคา 3,200 บาท
  2. ตรวจภาพคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ราคา 3,200 บาท

เงื่อนไขการใช้บริการ

  1. ราคาดังกล่าว รวมค่าแพทย์ให้คำปรึกษาโรคหัวใจ
  2. กรุณาทำนัดล่วงหน้า ศูนย์ฯ โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่
  3. ราคาดังกล่าว ไม่รวมค่าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอื่น ๆ (ถ้ามี) ที่ไม่เกี่ยวกับการทำหัตถการครั้งนี้ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายก่อนการทำหัตถการ ภาวะแทรกซ้อน และค่าใช้จ่าย โทร.052-089-888 หรือ 1719 ที่นอกเหนือจากที่กำหนดตามการทำหัตถการ ยากลับบ้าน เวชภัณฑ์ หรือ วิตามิน (ถ้ามี)
  4. การใช้แพ็กเกจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  5. ไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดทางการตลาดอื่น ๆ ได้

รายการตรวจ

  1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ด้านโรคหัวใจ
  2. ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และเกล็ดเลือด
  3. ตรวจค่าการทำงานของไต
  4. ตรวจค่าการกรองไต
  5. ตรวจปัสสาวะอย่างสมบูรณ์
  6. ตรวจหาระดับโปรตีนในปัสสาวะ
  7. ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
  8. ตรวจหาระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด
  9. ตรวจหาระดับไขมันคอเลสเตอรอล
  10. ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์
  11. ตรวจระดับไขมันดี
  12. ตรวจระดับไขมันไม่ดี
  13. ตรวจโปรตีนที่แสดงการอักเสบของร่างกาย
  14. ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  15. ตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด
  16. สมุดรายงานผลตรวจสุขภาพ

ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่

โทร. 052 089 888  หรือ Call Center 1719

 

 

แพ็กเกจตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคหัวใจ แบบ Standard

เป็นการตรวจคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยในการประเมินเพื่อป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต
เหมาะกับผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีภาวะความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง สูบบุหรี่ ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

แพ็กเกจตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคหัวใจ แบบ Executive

แพ็กเกจนี้เหมาะกับใครบ้าง?

1. ผู้มีโรคประจำตัว ประเภทความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาเบาหวาน (ควบคุมได้ไม่ดี)

2. ผู้มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ อาทิ เหนื่อยเวลาออกกำลังกาย…แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย, มีอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก หายใจอึดอัดเวลาใช้แรงมากๆ หรือมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือเต้นเร็วกว่าปกติ เหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน รวมทั้งมีอาการจุก แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย

เพิ่มรายการตรวจพิเศษจากการตรวจแบบ Standard อย่างไร?

1. เพิ่มการตรวจระดับแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ หรือ CT Calcium Scoring

การตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจและการตีบของหลอดเลือดหัวใจ เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเพื่อคำนวณหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดงเพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ใช้บ่งบอกแนวโน้มถึงโอกาสในการเสียชีวิตฉับพลันจากโรคหัวใจในอนาคต

CT Calcium Scoring โรงพยา

2. เพิ่มการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือ Exercise Stress Test หรือ EST

เป็นการตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตรวจหาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เกิดขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพาน ผู้ป่วยเหล่านี้อาจไม่มีอาการ หรือความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะพัก แต่เมื่อออกกำลังกายหัวใจจะมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดมีอาการแสดงและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจนมากขึ้น

 

EST โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

3. เพิ่มการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram, Echocardiography) หรือเอคโค (Echo)

การตรวจเพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ หรือ เอคโค เป็นการตรวจเฉพาะทางที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์โรคหัวใจโดยเฉพาะ ใช้หลักการคล้ายกับการอัลตร้าซาวน์ คือการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจแล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ สามารถแสดงถึง รูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลิ้นหัวใจ ใช้ระยะเวลาในการตรวจไม่เกิน 1 ชั่วโมง ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละครั้ง

Echo โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

4. เพิ่มการตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอที่ไปเลี้ยงสมอง ที่เรียกว่า Ultrasound Carotid

การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ (common carotid artery) ที่ไปเลี้ยงสมอง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง และตรวจหลอดเลือดว่ามีคราบหินปูนหรือคราบไขมัน (Plaque) เกาะอยู่ภายในหลอดเลือดหรือไม่ และสามารถวัดขนาดของ คราบหินปูนหรือคราบไขมัน ได้ เพราะเมื่อมีการหนาตัวมากขึ้น จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และอาจทำให้เส้นเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรือตัน ช่วยในการพยากรณ์อาการป่วยของโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการตรวจที่ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน

Ultrasound Carotid โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่

 

ไม่มีประวัติโรคหัวใจ ใช่ว่าไม่เสี่ยง!

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อ "ภาวะหัวใจวาย" เพราะการเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างกะทันหัน มี 2 สาเหตุหลักที่พบได้บ่อย คือ จาก "โรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลัน" และจาก "หัวใจเต้นผิดจังหวะ"  เนื่องจากเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบฉับพลันเป็นโรคที่ไม่มีการแสดงอาการที่บ่งบอกอย่างเด่นชัด เพราะแม้ว่าหลอดเลือดจะตีบไปแล้วกว่า 50% แต่หัวใจก็ยังสูบฉีดเลือดได้และไม่แสดงอาการใดๆ  ส่วนโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะส่งผลให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้น้อยลง พบได้บ่อยในผู้ที่อายุน้อย ซึ่งทั้ง 2 สาเหตุนี้ สามารถป้องกันและนำไปสู่การรักษาได้ทันท่วงทีด้วยการตรวจคัดกรองโรคหัวใจเป็นประจำนั่นเอง

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์โรคหัวใจกรุงเทพเชียงใหม่

โทร. 052 089 888  หรือ Call Center 1719

 

สาระสุขภาพ